“บุญเราไม่เคยสร้าง ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า ลูกเอ๋ย ก่อนที่จะเข้าไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไป
ก่อนเมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด
เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมมาจนพ้นตัว?”
การเจริญภาวนานั้นเป็นการสร้างบุญสะสมไว้ที่ถือได้ว่าได้บุญบารมีมากที่สุด และยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนาถือว่า
เป็นแก่นแท้และได้บุญสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก เพราะว่าการเจริญภาวนาเป็นการเน้นระงับการทำความชั่วทาง “ใจ”
คือเป็นการซักฟอกจิตให้สะอาดบริสุทธิ์
พระพุทธองค์กล่าวเอาไว้ว่า
“แม้จะรักษาศีล 227 ข้อให้ไม่ด่างพร้อยถึง 100 ปีก็สู้การทำสมาธิภาวนาเพียงแค่ชั่วไก่กระพือปีกหรือช้างกระดิกหูไม่ได้”
การเจริญภาวนานั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. การทำสมาธิด้วยสมถะภาวนา
การทำสมาธิแบบสมถะภาวนาคือ การกำหนดใจให้นิ่งกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่เป็นอารมณ์เดียว ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตามขอให้เพียงแต่ใจอยู่นิ่งไม่
วอกแวกก็คือเป็นสมาธิ ถ้าเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดและคนไทยเราคุ้นเคยที่สุดก็คือ “การไหว้พระสวด
มนต์” การกำหนดจิตด้วยการสวดมนต์นี้จะทำให้จิตนิ่งอยู่ที่บทสวดก็เรียกได้ว่าเป็นการทำสมาธิระดับต้นขั้นที่หนึ่ง (ขณิกสมาธิ)
2. การเจริญปัญญา
การเจริญปัญญานั้นต่างไปจากความเป็นสมาธิ ตรงที่สมาธิเป็นเพียงการทำใจให้สงบนิ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่เพียงอารมณ์เดียวแน่นิ่งอยู่อย่าง
นั้นโดยไม่ได้นึกคิดอะไร แต่การเจริญปัญญา (คำพระท่านว่า วิปัสสนา) ไม่ใช่ทำให้แค่จิตใจตั้งมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น
การเจริญปัญญานั้นเป็นการคิด “ใคร่ครวญ” เพื่อหาเหตุผลในสภาวะที่เป็นธรรมและความจริงในแต่ละสรรพสิ่งว่า สิ่งทั้ง
หลายในโลกนี้เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป (อนิจจัง) ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นทุกข์ (ทุกขัง) คือทุกอย่างเป็น
สภาพที่ไม่อาจทนอยู่ในสภาพเดิมได้ เกิดขึ้นแล้วไม่อาจทรงตัวต้องเปลี่ยนแปลงไป ทำให้อารมณ์เกิดความเปลี่ยนแปลง
ไปตามวัตถุซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ตามมา และ สุดท้ายคือ ทุกสิ่งไม่มีตัวตนและไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนหรือเป็นของๆ ใครใดๆ ทั้งสิ้น (อนัตตา)
ผลของการเจริญสมาธิและปัญญาจะทำให้พบความสุขที่แท้จริงได้อย่างไร
ความสุขที่ได้จากการเจริญภาวนานั้นเป็นความสุขที่เรียกได้ว่า “ละเอียด” กว่าความสุขทางกายมากมายนัก และมีถึง 3 ขั้นคือมีความสุขใน
ปัจจุบัน สุขในโลกหน้า และมีความสุขเป็นที่สุดคือนิพพาน
1. ความสุขในปัจจุบัน
เมื่อฝึกทำสมาธิได้ในระดับเบื้องต้นเพียงแค่ปล่อยวางใจให้ผ่อนคลายกับเรื่องราวต่างๆ ได้ก็เกิดผลบุญขึ้นคือ ใจเป็นสุขที่ได้ปล่อยวางได้พบกับ
ความสุขใจขั้นพื้นฐานได้แก่ เมื่อหลับก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข จะนั่ง นอน ยืน หรือเดิน ไม่ว่า
อิริยาบถไหนๆ ก็มีความสุขทั้งสิ้น สุขไม่ต้องเลือกเวลาและสถานที่เพราะว่าจิตใจของเรานิ่งเป็นสุขแล้ว (พระท่านว่า “นัตถิ สันติปะรัง สุขัง”
สุขอื่นนอกจากหยุดนิ่งนั้นไม่มี
2. ความสุขในโลกหน้า
ความสุขในระดับขั้นต่อไปคือ เมื่อได้ละจากโลกนี้ไปแล้วจะได้ไปเสวยสุขในภพภูมิที่เป็นสุขขึ้นไปในโลกหน้า เพราะการที่เราจะไปสู่ “สุคติ”
หรือภพที่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับความหมองหรือความใสของจิตเป็นหลักหากก่อนจากไปมีจิตใจที่ผ่องใส
เป็นสุข ก็มีสุคติเป็นที่ไป หากก่อนจากไปจิตมีความขุ่นข้องเป็นทุกข์ก็มี ทุคติเป็นที่ไปตามหลักกรรมแห่งอาสันนกรรม
3. ความสุขอันเป็นนิพพาน
การเจริญภาวนานั้นเป็นเหตุให้หลุดพ้นจากกิเลส หากหมั่นเพียรฝึกฝนจนกระทำสำเร็จจนสิ้นกิเลสในภพชาติปัจจุบันก็จะทำให้จิตหลุดพ้นไม่ต้อง
กลับไปเวียนว่าย ในสังสารวัฏอีก อันหมายถึงพระนิพพาน ซึ่งความสุขแบบนี้มีแต่พระพุทธเจ้ากับเหล่าพระอรหันต์เท่านั้นที่สามารถไปถึงได้
หากเราต้องการที่จะไปถึงความสุขพ้นทุกข์ไปตลอดกาล ในภพชาติปัจจุบันก็ต้องพยายามฝึกฝนไปเรื่อยๆ หากไม่ถึงนิพพานในชาตินี้ชาติหน้าก็
จะถึงได้แน่นอนต้องหมั่นสะสมบุญบารมีไปและต้องมีเคล็ดวิธีการฝึกสมาธิและการเจริญปัญญาที่ถูกต้องจากผู้ที่รู้จริงเท่านั้น
การสร้างและสั่งสมบุญนั้นจึงเป็น “งานสำคัญของชีวิต” ควรที่เราจะต้องกระทำให้เป็นนิสัยจนกระทั่งกลายเป็นส่วนหนึ่งไปเลยดังที่บรรพบุรุษของ
เราเคยกระทำมาโดยคนโบราณนั้นถึงกับมีคติในการสร้างบุญบารมีเอาไว้ว่า
“เช้าใดยังไม่ได้ให้ทานหรือทำทาน เช้านั้นก็อย่าเพิ่งกินข้าว”
“วันใดที่ยังไม่ได้สมาทานศีลเพื่อที่จะตั้งใจรักษาศีล วันนั้นก็อย่าเพิ่งออกจากบ้าน”
“คืนใดที่ยังไม่ได้สวดมนต์ นั่งเจริญสมาธิภาวนาคืนนั้นก็อย่าเพิ่งเข้านอน”
ลองถ้าเราตั้งเงื่อนไขการสร้างบุญซึ่งไม่ใช่เรื่องทำยากเลยไว้เช่นนี้เมื่อทำจนเป็นนิสัยมันก็จะติดตัวเราไปและยังประโยชน์ให้เกิดกับคนรอบข้าง
ไปด้วยเพราะเขาจะพบเห็นความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแล้วก็จะเริ่มเกิดศรัทธาหันมาทำตามเป็นการพากันสร้างบุญกลุ่มให้ยิ่งใหญ่ขึ้นไป
เมื่อสร้างบุญมาดีแล้ว บุญนี้จะเก็บไว้กับตัวเสียก่อน เมื่อสร้างให้มากๆ ยิ่งดีเพราะเมื่อถึงเวลานำไปใช้แล้วจะได้มีใช้ไม่ขาดแคลน
ดังคำสอนของสมเด็จของพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสีที่ท่านกล่าวเป็นอมตะวาจาว่า
“บุญเราไม่เคยสร้าง ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า ลูกเอ๋ย ก่อนที่จะเข้าไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไป
ก่อนเมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะ
หนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมมาจนพ้นตัว เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัวแล้วเจ้าจะมี
อะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง จงจำไว้นะเมื่อยังไม่ถึงเวลา
เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้ ครั้นเมื่อถึงเวลา ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน
เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า”
หมั่นสร้างบุญอย่างสม่ำเสมอให้มากพอและยาวนานพอส่วนจะนำบุญไปใช้ให้เกิดผลเร็วๆ อย่างไรนั้นจะกล่าวในบทของ
เคล็ดของการนำบุญมาใช้ต่อไป