ในบทความนี้ GangBeauty จะพาเพื่อนๆไปเปิดความเชื่อโบราณเกี่ยวกับ “เรื่องตากระตุก หรือ ตาเขม่น” ที่เล่าต่อกันมาช้านานว่า หากตาขวากระตุกร้าย – ตาซ้ายกระตุกดี แต่ทั้งนี้ จะดีหรือร้ายแบบที่เขาว่าจริงอย่างไรนั้น ตามมาพิสูจน์พร้อมกันเลยจ้า!!!
เขม่นในตอนเช้า นับจากตื่นนอนใกล้รุ่ง
ถ้าเขม่นในตาขวา : จักมีญาติมิตรต่างแดนมาหา
ถ้าเขม่นในตาซ้าย : จักมีปากเสียงทะเลาะวิวาท หรือมีเรื่องเดือดร้อนมาสู่
เขม่นในตอนสาย นับจากเวลา 9.00 – 12.00 หรือเที่ยงวัน
ถ้าเขม่นนัยน์ตาขวา : ญาติมิตรต่างแดนหรือต่างจังหวัดจะนำลาภมาให้
ถ้าเขม่นนัยต์ตาซ้าย : จะเกิดเรื่องไม่ดีงามภายในครอบครัว
เขม่นในตอนบ่าย พ้นจากเที่ยงวัน – 16.00 น.
ถ้าเขม่นนัยน์ตาขวา : การที่คิดไว้หรือกำลังทำอยู่จะประสบผลสำเร็จ
ถ้าเขม่นนัยน์ตาซ้าย : จะมีเพศตรงข้ามกล่าวขวัญถึงหรืออาจมาหา
เขม่นในตอนเย็น ตั้งแต่ 17.00 – 19.00 น.
ถ้าเขม่นนัยน์ตาซ้าย : จะมีญาติหรือเพื่อนสนิทที่อยู่ห่างไกลมาเยี่ยม
ถ้าเขม่นนัย์น์ตาขวา : จักได้พบญาติหรือมิตรสหายที่จากกันไปนานโดยไม่นึกไม่ฝัน (และไม่ต้องการหรือเปล่า?)
เขม่นในตอนกลางคืน 19.00 เป็นต้นไป
ถ้าเขม่นนัยน์ตาซ้าย : จักมีข่าวดีมาถึงในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น หรือจักได้ลาภจากผลงานที่ทำไว้
ถ้าเขม่นนัยน์ตาขวา : จักมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับคนในครอบครัว
ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์ได้บอกให้ฟังว่า “อาการตากระตุก” แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ เปลือกตากระตุก และลูกตากระตุก
เปลือกตากระตุก อาจเกิดจากนิสัยความเคยชินในวัยเด็ก : เด็กบางคนสามารถกระตุกเปลือกตาและใบหน้าเป็นครั้งคราวได้ และสามารถหยุดได้ทันทีเมื่อต้องการหยุด อาการจะหายไปได้เมื่อโตขึ้น นอกจากนั้นอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ มักพบในคนสูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย จะมีอาการเปลือกตา ค่อยๆ บีบตัวเกร็งทีละน้อยจนกลายเป็นหลับตาแน่นมากทั้งสองตา เกิดเป็นครั้งคราว ขณะหลับจะไม่มีอาการ หากทิ้งไว้นาน ความรุนแรงและความถี่จะมากขึ้นจน กลายเป็นตาปิดตลอด ทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
กล้ามเนื้อตา : เปลือกตากระตุกอีกชนิด เกิดจากกล้ามเนื้อตาและกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้ากระตุก มักเกิดจากเส้นเลือดในสมองโป่งพอง หรือมีเนื้องอกกดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงเปลือกตา จะมีอาการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อเปลือกตาและกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกอาการเกร็ง จะคงอยู่แม้ขณะหลับจะมีอันตรายต้องได้รับการผ่าตัด
ตากระตุก : เป็นอาการกระตุกของลูกตาเป็นจังหวะด้วยทิศทางและความแรงแตกต่างกันออก ไปเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น เกิดขึ้นภายใน 2-3 เดือนแรกหลังคลอดหากลูกตากระตุกเท่าๆ กันในตาทั้งสองข้างอาจร่วมกับการมีศีรษะสั่นด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น นอกจากนี้ยังพบได้จากการล้าของกล้ามเนื้อตาทำให้ตากระตุก กลุ่มนี้ไม่มีปัญหา อะไรหายเองได้ แต่หากอาการตากระตุกเป็นอยู่นานๆ ควรต้องไปพบแพทย์ เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุของโรคจะได้แก้ไขอย่างถูกต้องต่อไป