เมื่อครั้งที่สมเด็จพระพุทธาจารย์โต ได้รับนิมนต์ให้แสดงธรรม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมาท่ามกลางเหล่าขุนนาง ข้าราชการและข้าราชบริพาร ครั้นพอพบหน้าท่าน ร.๔ (พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ก็ทรงสัพยอกว่า “ท่านเจ้าคุณเห็นเขาชมกันทั้งเมืองว่าท่านเทศน์ดีนัก นี่วันนี้ต้องขอพิสูจน์หน่อย”
ท่านได้เทศน์แก่ รัชกาลที่๔ ว่า “พระอรหันต์ คือ พระผู้ประเสริฐ คนเราทั้งหลายพยายามค้นหาพระผู้ประเสริฐ เพียงหวังยึดท่าน เกาะผ้าเหลืองเกาะหลังท่าน เพื่อให้ท่านพาไปสู่ความสุข แม้ว่าท่านจะอยู่ไกลสุดขอบฟ้า คนเราก็ยังคงดั้นด้น ดิ้นรนไปหา เพื่อหวังเพื่อยึดเหนี่ยวบูชา แต่พระที่อยู่ภายในใกล้ตัวที่สุดกลับมองข้าม มองไม่เห็นเหมือนใกล้เกลือกินด่าง อีกน้ำใจของพ่อแม่ที่ให้ต่อลูก มีแต่ความบริสุทธิ์ ไม่คิดหวังสิ่งใดตอบแทน เช่นเดียวกับพระอรหันต์ที่ให้ต่อมนุษย์ ที่มีความบริสุทธิ์เช่นเดียวกัน พ่อ แม่ จึงเปรียบเสมือนพระอรหันต์ของ ลูก”
ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเหล่าขุนนาง ข้าราชบริพารต่างก็มีความสงสัย เพราะเคยได้ยินแต่ว่าพระอรหันต์ท่านจะอยู่ในถ้ำ ในป่า ในเขา ท่านได้ขยายความต่อไปว่า จิตพระอรหันต์เป็นผู้บริสุทธิ์ ท่านละจากความโลภ โกรธ หลง ไม่ยินดีและยินร้ายในเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม หากใครได้ทำบุญกับพระอรหันต์แล้วไซร้ก็ถือได้ว่าเป็น “ลาภอันประเสริฐ” ที่สุด “บุญ” ที่ได้ทำกับท่านจะได้ผลในชาติปัจจุบันทันที ไม่ต้องรอไปถึงชาติหน้า ทุกๆ คนจึงมุ่งเสาะแสวงหาแต่พระอรหันต์ที่อยู่นอกบ้าน แต่ไม่เคยมองเห็นพระอรหันต์ที่อยู่ “ในบ้าน” เลย
ทุกๆ คนที่นั่งฟังเทศนาอยู่ในที่แห่งนั้นต่างทำสีหน้างุนงงไปตามกัน เพราะไม่เข้าใจความหมาย สมเด็จโตจึงเทศนาต่อไปว่า “พระอรหันต์ คือ พระผู้ประเสริฐ” คนเราทั้งหลายพยายามค้นหาพระผู้ประเสริฐ เพียงหวังยึดท่าน เกาะผ้าเหลืองเกาะหลังท่าน เพื่อให้ท่านพาไปสู่ความสุข แม้ว่าท่านจะอยู่ไกลสุดขอบฟ้า คนเราก็ยังคงดั้นด้น ดิ้นรนไปหา เพื่อหวังเพื่อยึดเหนี่ยวบูชา แต่พระที่อยู่ภายในใกล้ตัวที่สุดกลับมองข้าม มองไม่เห็นเหมือนใกล้เกลือกินด่าง อีกน้ำใจของพ่อแม่ที่ให้ต่อลูก มีแต่ความบริสุทธิ์ ไม่คิดหวังสิ่งใดตอบแทน เช่นเดียวกับพระอรหันต์ที่ให้ต่อมนุษย์ ที่มีความบริสุทธิ์เช่นเดียวกัน พ่อ แม่ จึงเปรียบเสมือนพระอรหันต์ของ “ลูก” ท่านมีน้ำใจบริสุทธิ์ต่อลูกมากมายนัก ท่านเลี้ยงดูเรามาตั้งแต่อยู่ในท้องของท่าน ทนทุกข์ทรมานร่วมเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง แต่ท่านไม่เคยปริปากบ่นสักนิด มีแต่ความสุขใจ แม้ลูกเกิดออกมาแล้วพิการ หูหนวกตาบอด ท่านก็ยังรักสงสาร เพราะท่านคิดเสมอว่านั่นคือ “สายเลือด” ถือว่าเป็น “ลูก” ไม่เคยคิดรังเกียจและทอดทิ้ง แต่ท่านจะเพิ่มความรัก ความสงสารมากยิ่งขึ้น
ครั้นตอนที่เราเป็นเด็กเล็กๆ ก็ซุกซนรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เราเคยหยิก เคยข่วน ทุบตี เตะ ต่อย กัด หรือด่าทอพ่อแม่ต่างๆ นานา เพราะความไร้เดียงสา ท่านก็ไม่เคยโกรธ กลับยิ้มร่าชอบใจ เพิ่มความรักความเอ็นดูให้เสียอีก แม้เราจะเป็นผู้ใหญ่ รู้ผิดชอบชั่วดี แต่บางครั้งด้วยความโกรธ ความหลง เราก็ยังทุบตีและด่าทอท่านอยู่ แทนที่ท่านจะโกรธหรือโทษเอาผิดต่อเรา ท่านกลับยอมนิ่งเฉย รับทุกข์เพียงอย่างเดียว ยอมเสียน้ำตา ยอมเป็นเครื่องรองรับมือ เท้าและปากของเราผู้เป็น “ลูก” สำหรับลูกแล้ว ท่านเสียสละให้ทุกอย่าง ท่านให้ “อภัย” ในการกระทำของเรา เพียงเพราะท่านกลัวเราจะมีบาปกรรมติดตัว จึงยอมที่จะเจ็บยอมทุกข์เสียเอง ไม่มีใครในโลกนี้จะรักเราและหวังดีต่อเราอย่างจริงจังและจริงใจเหมือนพ่อแม่ ท่านเลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เล็กจนเราเติบใหญ่ ทุ่มเทแรงกายแรงใจ และกำลังทรัพย์ให้แก่เราอย่างมากมาย จนไม่อาจจะประมาณค่าตัวเลขได้ และในบางครั้งลูกหลงผิดเป็น “คนชั่ว” ด้วยอารมณ์โทสะ เป็นคนเมาขาดสติ ก่อกรรมทำเข็ญเป็นที่เดือดร้อนแก่ชาวบ้าน ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายของบ้านเมือง ในสายตาของท่านแล้ว
เมื่อมีภัยมาสู่ลูก “แม่” และ “พ่อ” ก็ยังปกป้องรักษาช่วยเหลือลูกอย่างเต็มกำลังและความสามารถ เสียทรัพย์สินเท่าใดก็ยอมให้ลูกพ้นผิด แม้ลูกถูกจองจำ พ่อแม่เท่านั้นที่คอยหมั่นดูแลไปเยี่ยม คอยส่งน้ำอาหาร คอยให้กำลังใจแก่ลูกให้ต่อสู้ความเจ็บป่วยและทุกข์ทรมานของจิตใจ และรอนับเวลาที่ลูกจะกลับมาสู่อ้อมอกอีกครั้งหนึ่ง น้ำใจที่มีต่อลูกเช่นนี้เปรียบเท่า “พระอรหันต์” โดยแท้ พ่อแม่จึงเป็นพระอรหันต์ในบ้านของเราจริงๆ ทำไมพวกท่านจึงไม่คิดทำบุญกับพระอรหันต์ที่อยู่ในบ้านเล่า สำหรับลูกแล้ว ถึงพ่อแม่จะเป็นโจร คนชั่วในสายตาของคนอื่น แต่สำหรับลูก ท่านเสียสละให้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง พ่อแม่มีลูกนับ ๑๐ คน เลี้ยงดูเติบใหญ่ได้ และลูกทั้ง๑๐คน กลับเลี้ยงดูพ่อแม่เพียง ๒ คน ไม่ได้ ชอบเกี่ยงกันเพราะลูกเหล่านั้นกำลังลืมคำว่า “พระคุณของพ่อแม่”
ยามที่พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ เราควรที่จะเลี้ยงดูพ่อแม่ โดยการมีอาหารให้ท่านกิน ซื้อเสื้อผ้าของใช้พาท่านไปทำบุญเข้าวัดเข้าวา อะไรก็ตามที่ทำให้ท่านมีความสุขก็ควรทำให้ท่าน ดูแลความทุกข์สุขและเลี้ยงดูจิตใจ ท่าน เชื่อฟังโอวาท คำเตือนของท่าน คำพูดคำจาที่จะพูดกับท่านก็ต้องระมัดระวัง ถนอมน้ำใจท่านเพราะคนแก่นั้นใจน้อย ต้องรักษาน้ำใจท่าน อย่าทำให้ท่านต้องเสียใจ ด้วยคำพูดนิ่มหูฟังแล้วสบายใจ ไม่ปล่อยทิ้งท่านให้อยู่อย่างว้าเหว่ คอยเอาใจใส่ปรนนิบัติ ดูแลท่านอย่างใกล้ชิด แต่คนส่วนมากมักจะทำบุญให้พ่อแม่เมื่อยามท่านตายจากเราไปแล้ว เพราะนั่นคือ “การพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุด” ในชีวิตของลูก ที่จริงแล้วเราควรต้องทำบุญในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ย่อมได้ชื่อว่าเป็นลูก “กตัญญู กตเวที” ขอให้สาธุชนทั้งหลายที่ฟังธรรมวันนี้ จงกลับไปทำบุญกับพ่อแม่ผู้เป็นพระอรหันต์ในบ้าน การทำบุญแบบนี้จะได้อานิสงส์ทันตาเห็นในชาติปัจจุบัน บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน คือบุญที่ทำกับพระอรหันต์ผู้ประเสริฐในบ้านของเราจริง และบูชาได้อย่างแน่นอน ไม่เคยเห็นผู้ใดเลยที่มีความกตัญญูต่อพ่อแม่แล้วต้องพบกับความวิบัติ ไม่เคยมี ทำมาหากินก็เจริญ แคล้วคลาดปลอดภัย ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ มีแต่ความสุข อายุยืนยาวตลอดกาลเวลา
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหล่าขุนนาง ข้าราชบริพารทั้งปวง ได้ฟังคำเทศนาสมเด็จโต บ้างน้ำตาก็คลอเบ้าตาทั้ง ๒ ข้าง บ้างน้ำตาไหลออกมาสุดที่จะกลั้นได้ ด้วยความรัก ความสงสาร คิดถึงพระคุณพ่อแม่ขึ้นมา รัชกาลที่ ๔ จึงตรัสด้วยพระสุรเสียงอันสั่นเครือปนน้ำพระเนตรว่า “ท่านเจ้าคุณมาเทศน์ได้จับใจยิ่งนัก และขอให้ทุกคนจงกลับไปทำบุญกับพ่อแม่ผู้เป็นพระอรหันต์เถิด”
สำหรับคาถาบูชาพ่อแม่ ก็มีดังนี้
๑) อิมินาสักกาเรนะ ข้าขอกราบสักการะบูชา อันพระบิดร มารดา ตัวข้าขอน้อมระลึกคุณ ท่านมีเมตตาการุณ อุปการะคุณต่อบุตรธิดา ท่านให้กำเนิดลูกมา ทั้งการศึกษาและอบรม ถึงแม้ลำบากขื่นขม ทุกข์ระทมสักเพียงใด ท่านไม่เคยหวั่นใหว ต่อสิ่งใดที่ใด้เลี้ยงมา พระคุณท่านล้นฟ้า ยิ่งกว่าธาราและแผ่นดิน ข้าขอบูชาเป็นอาจิณ ตราบจนสิ้นดวงชีวา ขอปวงเทพไท้รักษา อันพระบิดรมารดาของข้า เทอญ..
๒) มัยหัง มาตาปิตูนังวะปาเทสุ วันทามิ สาทะรัง (กราบ ๑ ครั้ง)
๓) อะนันตะคุณะ สัมปันนา ชะเนติชะนากา อุโภ มัยหัง มาตา ปิตูนังวะ ปาทา วันทามิ สาทะรัง
หลังจากสวดบูชาจบแล้ว หากสะดวกก็ทำพิธีขออโหสิกรรมต่อ โดยเตรียมน้ำโรยดอกมะลิหนึ่งขัน แล้วพูดว่า
“กายกัมมัง วจีกัมมัง มโนกัมมัง โย โทโส อันว่าโทษใดความผิดอันใด ที่ข้าพเจ้าพลั้งเผลอสติไป ด้วยกายก็ดี ด้วยใจก็ดี ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ขอใหคุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย คุณพี่ คุณน้อง อโหสิกรรมให้ด้วย”
จากนั้นจึงนำน้ำไปรดมือ รดเท้า
คาถาบูชาพ่อแม่นี้ สามารถทำได้ทุกวัน ทำได้ทันทีโดยไม่ต้องรีรอ เพื่อให้ระลึกถึงพระคุณของผู้เป็นพระในบ้าน